การจัดแสงไฟใน Studio


1. การถ่ายภาพในสตูดิโอ โดยใช้ไฟดวงเดียว

          โดยจะเป็นไฟหลัก นิยมวางไว้ในตำแหน่งแสง ระหว่างแสงหน้ากับแสงข้าง อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือด้านขวาของแบบ โดยวางไว้เป็นมุมสูง ประมาณ 45 องศา ลักษณะของภาพจะปรากฏ ส่วนที่ถูกแสงจะสว่าง อีกส่วนหนึ่งจะเป็นเงาดำ ทำให้เห็นเค้าโครงสัดส่วนของแบบได้ชัดเจน ช่วยเน้นอารมณ์ให้เกิดขึ้นในภาพ หากใช้แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) เพื่อลบเงาที่เกิดขึ้นบางส่วน ช่วยให้ภาพดูนิ่มนวลขึ้น


2. การถ่ายภาพในสตูดิโอ โดยใช้ไฟสองดวง

          ซึ่งจะมีไฟที่เป็นไฟหลัก กับไฟเพิ่ม หรือไฟลบเงา เพราะถ้ามีแสงหลักเพียงดวงเดียว จะทำให้เกิดเงาขึ้นอีกด้าน ทำให้แบบมืดเกิดไป การเพิ่มไฟลบเงาจะช่วยให้เกิดความสว่างในส่วนที่เป็นเงา ทำให้ภาพดูสวยงามเห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น


3. การถ่ายภาพในสตูดิโอ โดยใช้ไฟสามดวง

          การถ่ายภาพบุคคลบางครั้งจะใช้ไฟดวงที่สาม เพิ่มขึ้นอีกด้วย ไฟดวงที่ 3 นี้ บางครั้งจะวางใน ตำแหน่งด้านหลังของตัวแบบ เพื่อเน้นรูปทรงของแบบ ให้เห็นเด่นชัดขึ้น ในบางครั้งไฟดวงที่สาม ใช้เพื่อ ส่องผมโดยบีบลำแสงให้ส่วนสว่าง เพียงบริเวณแคบๆ ที่ทรงผม ตั้งไฟในตำแหน่งเฉียงหลัง ด้านบนใหัมี ความส่องสว่างมากกว่าแสงหลัก ประมาณ 3:1


ขั้นตอนการจัดแสงถ่ายแบบในห้องสตูดิโอ

          1. ตัดสินใจว่าต้องการให้เกิดผลอย่างไรต่อตัวแบบ แสงจะแสดงบุคลิกลักษณะของตัวแบบออกมาได้ตามที่ผู้ถ่ายต้องการ เช่น แสง - เงาบนใบหน้า อัตราส่วนของแสงที่ต้องการ การจัดวางท่าทางฉากหลัง และส่วนประกอบอื่นๆ ควรตัดสินใจไว้ก่อนว่าต้องการแบบใด จึงเริ่มจัดแสง และจะให้ดี ถ้าหากสามารถ ร่างภาพไว้ดูก่อนที่จะถ่าย

          2. วางไฟหลัก เพื่อดูแสงสว่าง (highlight) บนใบหน้า และแสงส่วนเงา (shadow) ที่เกิดขึ้นตามมา ควรทดลองเปลี่ยนที่ตั้งของดวงไฟหลายๆ ตำแหน่งเพื่อดูทิศทางของแสง และควบคุมความเข้มของแสง ให้ได้ตามต้องการ ถ้าหากเป็นไฟแฟลชสตูดิโอสามารถปรับความสว่างของดวงไฟ ที่ปุ่มควบคุม ด้านหลังของหัวแฟลช หรือที่ตัวควบคุม Power Pack ซึ่งมีที่ปรับความสว่างแยกต่างหากจากตัวแฟลช นอกจากนี้ควรพิจารณาว่าต้องการความเข้มของแสงแบบใดก็สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ควบคุมแสงได้

          3. วางไฟเสริม ไฟเสริมจะวางในตำแหน่งคนละด้านกับไฟหลัก ทำหน้าที่ลบเงาหรือเพิ่มแสงสว่างเงามืด ระวังอย่าให้เกิดเงาซ้อนกันบนใบหน้าของตัวแบบ ปกติไฟเสริมนิยมใช้แสงนุ่มมากกว่าแสงตรง จึงมักใช้ แสงสะท้อนจากร่มหรือใช้กล่องทอนแสง (soft box) สวมด้านหน้าแฟลช นักถ่ายภาพบางคน อาจใช้เพียง โฟมแผ่นโตๆ หรือกระดาษขาวหันรับแสงจากไฟหลักสะท้อนเข้าไปเปิดเงา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ของผู้ถ่ายว่าจะให้แสงสว่างมีความสว่างเพียงใด ตำแหน่งที่วางไฟเสริมควรพิจารณาตามความเหมาะสม โดยสังเกตดูผลของแสงผ่านทางช่องมองภาพในตัวกล้อง ในขณะที่จัดแสงไฟเสริมนี้ควรใช้ เครื่องวัดแสงวัดค่าของไฟหลัก และไฟเสริมเพื่อหาค่าอัตราส่วนของแสงตามที่ตัดสินใจไว้แล้ว

          4. วางไฟส่องผมและไฟส่องฉากหลัง ขั้นตอนนี้จะช่วยแยกวัตถุออกจากฉากหลังได้ดี การพิจารณา วางไฟส่องผมควรปิดไฟหลัก และไฟเสริมไว้ก่อนแล้วเปิดไฟส่องผมดูว่าได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ ตำแหน่งไฟส่องผมควรอยู่ตรงข้ามกับไฟหลัก ส่วนไฟส่องฉากหลังนั้นก็ดูตามความเหมาะสม ของเครื่องแต่งกายของตัวแบบ

         5. ปรับแสงไฟครั้งสุดท้าย เปิดไฟพร้อมกันทุกๆดวง แล้วดูในช่องมองภาพพิจารณาดูว่ามีส่วนของ แสงสว่าง ที่ไม่ต้องการหรือไม่ ถ้ามีต้องขจัดแสงส่วนนั้นออกไป ปรับไฟครั้งสุดท้ายโดยใช้ อุปกรณ์บังคับทิศทางแสง หรือปรับเลื่อนตำแหน่งดวงไฟ

          6. วัดแสงเฉลี่ย โดยวางเครื่องวัดแสงบริเวณใบหน้าของตัวแบบ หันเซลล์รับแสงของเครื่องวัดแสง เข้าหากล้อง แล้วอ่านค่าของแสงเฉลี่ยที่ได้นำไปตั้งค่าการฉายแสงที่กล้องถ่ายรูป


แหล่งข้อมูล
https://prezi.com/xzdkmlu78fzu/presentation/